บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้เริ่มกิจกรรมด้วยการเล่นเกมคำคล้องจอง โดยคนแรกให้พูดหนึ่งคำ จะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ถ้าพูดภาษาไทยก่อน คำต่อไปต้องเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าคำแรกเปนภาษาอังกฤษ คำต่อไปก็ต้องเป็นภาษาไทย แล้วคิดคำใหม่ขึ้นมาอีก1คำ เช่น post มด คนที่สองก็พูดว่า รถ car คนที่สามก็อาจจะพูดว่าfat ผีเสื้อ พูดแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
แนวคิด
พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นจากตัวเด็กเอง โดยมีสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเป็นตัวส่งเสริม
หลักการ ประกอบด้วย 4 ลักษณะ
1.แรงจูงใจในการเรียนรู้
2.โครงสร้างของเนื้อหา
3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง
4.การเสริมแรง
ลำดับขั้นพัฒนาการ
1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) เรียนรู้จากการกระทำและประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ขั้นจินตนาการ (Iconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ ตามความเป็นจริงและคิดจินตนาการ
3.ขั้นใช้สัญลักษณ์และความคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ต่างๆ เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้
แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
1.ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจ
2.โครงสร้างบทเรียนมีความเหมาะสม
3.การจัดลำดับจากง่ายไปหายาก
4.การเสริมแรงของผู้เรียน
สรุป ทุกคนมีพัฒนาการและการเรียนรู้ ผ่านขั้นความคิด 3 ขั้น ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
การประเมิน
อาจารย์ อาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมจากที่เพื่อนนำเสนอ
ตนเอง วันนี้ไม่ได้เข้าเรียนจึงอ้างอิงของเพื่อน
สภาพแวดล้อม เพื่อนช่วยกันทำงานกลุ่มของตนเองเป็นอย่างดี และช่วยเหลือกันในกลุ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น